ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อคจ้า

ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อคครับ ติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวของบล็อคได้ที่เฟสบุ๊คแฟนเพจครับผม http://www.facebook.com/EmuGame
^_^

วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การตั้งค่า NES Emulator

หลังจากที่ได้แนะนำตัว Emu ของเครื่องเกมต่างๆไปแล้ววันนี้ผมจะมาแนะนำการใช้งานของ NES Emulator หรือ Emulator ของเครื่อง Famicom นั่นเองครับ ในปัจจุบัน Emu ของเครื่อง Famicom นั้นมีหลากหลายตัวด้วยกัน ซึ่งการใช้งานก็คล้ายๆ กัน แต่ที่นิยมมากที่สุด คือ Jnes ครับ โดยได้เรตติ้ง 8.6 จากผู้โหวต 8,921 โหวต อ้างอิงจากเว็บ http://www.emulator-zone.com/

ขั้นตอนแรก คือต้องดาวน์โหลดตัว Emu ก่อนนะครับ
เมื่อติดตั้ง Emu เรียบร้อยแล้ว ก็ดับเบิ้ลคลิกเปิดโปรแกรมขึ้นมาเลยครับ

วิธีการตั้งค่าใช้งาน

1. เมื่อเปิดโปรแกรม Emulator Jnes ขึ้นมาจะได้หน้าต่างโปรแกรมดังนี้


2. จากนั้นไปที่แถบเมนูคลิกเลือก Options > Input เพื่อตั้งค่าปุ่มกด


3. จะมีหน้าต่างขึ้นมาให้เลือกตั้งค่าปุ่มกดนะครับ

ตั้งค่าปุ่มกด โดยใช้คีย์บอร์ด


ซึ่งปุ่มปกติที่โปรแกรม Emu ตั้งไว้คือ ปุ่มบนแป้นคีย์บอร์ดของเรานั่นเอง ซึ่งถ้าเราไม่ถูกใจก็ให้กด Setup เพื่อตั้งค่าใหม่ โดยจะตั้งค่าเป็นชุด เรียงจากซ้ายเป็นต้นไป ซึ่งจะมีเวลากำหนดให้เรากดปุ่มที่ต้องการให้ทันเวลา

หรือคลิกที่ปุ่ม สี่เหลี่ยมด้านหลัง ของปุ่มคำสั่งที่ต้องการ จะเป็นการตั้งค่าทีละปุ่ม

ถ้าต้องการตั้งค่าโดยใช้จอยสติ้กเล่น ก็ให้คลิกที่ Additional Devices จะมีดรอปดาวน์ลิสต์ให้เลือก ซึ่งต้องเสียบจอยสติ้กก่อนถึงจะมองเห็นนะครับ ดังรูป

ตั้งค่าปุ่มกดโดยใช้ จอยสติ้ก

เมื่อจัดการตั้งค่าปุ่มตามที่ต้องการแล้วก็กด OK เลยครับ

4. ตั้งค่าการเซฟเกม โดยไปที่แถบเมนูคลิก System > State slot

สามารถคลิกเลือกช่องที่ต้องการเซฟได้ตามที่ต้องการมีให้เลือกตั้งแต่ 0 - 9

โดยสามารถเลือกได้ตามต้องการ ซึ่งสามารถเปลี่ยนช่องเซฟในระหว่างเล่นเกมได้ด้วย โดยระหว่างเล่น ให้กดคีย์ลัด
F5 = Save เซฟเกมได้ทุกที่ทุกเวลาเลยครับ
F7 = Restore เมื่อต้องการโหลดให้กด F7 จะทำการโหลดจากที่เซฟเอาไว้

5. ทีนี้ก้อมาถึงเวลาเล่นเกมกันแล้ว ไปที่แถบเมนูคลิก File > Open



จากนั้นก็ Browse ค้นหาไฟล์เกมที่ต้องการเล่นเลยครับ


เมื่อค้นหาไฟล์เกมเจอแล้วคลิกปุ่ม Open ก็สามารถสนุกกับเกมได้แล้วครับ ^_^



เรียบร้อยแล้วครับสำหรับการตั้งค่า Emulator ของเครื่อง Famicom ไม่ยากเลยครับ ซึ่งสามารถนำไปใช้กับ Emulator อื่นๆ ได้คล้ายๆกันเลย เอาไว้คราวหน้าจะมาพูดคุยถึงเกมในอดีตของเครื่อง Famicom ในความทรงจำกันนะครับ ขอให้สนุกกับเกมในอดีตนะครับ ^_^




วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

รู้จักกับ Emulator กันก่อนนะครับ (2)

กลับมาแล้วคร้าบ ช่วงนี้ยุ่งๆเลยไม่ค่อยได้เขียนเท่าไหร่ แต่จะพยายามเขียนทุกอาทิตย์ครับผม ครั้งที่แล้วพูดถึง Emulator ของเครื่องเกมในยุคแรกๆไปแล้ว คราวนี้จะแนะนำ Emulator สำหรับเครื่องเกมยุคหลังกันนะครับ ^^

6. Sega Dreamcast


ดรีมแคสต์ เป็นเครื่องเกมรุ่นสุดท้ายของบริษัทเซก้า ซึ่งผลิตขึ้นเพื่อชิงตลาดเกมคอนโซล ดรีมแคสต์ใช้แผ่นดิสก์ของตนเองที่เรียกว่า GD-ROM (Gigabyte Disc Read Only Memory) ซึ่งผลิตโดยบริษัท Yamaha เพื่อป้องกันปัญหาซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์
ดรีมแคสต์ เป็นเครื่องเกมคอนโซลยุคแรกๆ ที่สามารถเล่นออนไลน์ได้ อีกทั้งยังเป็นเครื่องแรกๆที่มีการนำคำว่า Executive มาใช้ แต่ก็ไม่สามารถเอาชนะเครื่องเกมอย่าง Playstation 2 ได้ทำให้บริษัทเซก้าได้ตัดสินใจยุติการผลิตและออกจากการแข่งขันฮาร์ดแวร์คอนโซล มุ่งเน้นผลิตเพียงแค่ซอร์ฟแวร์เกมอย่างเดียว


7. Nintendo GameCube


นินเทนโด เกมคิวบ์ (Nintendo GameCube) จัดเป็นเครื่องเล่นคอนโซลรุ่นที่สี่ของบริษัทนินเทนโด ถัดจากเครื่องเล่น Nintendo 64 ซึ่งสิ่งที่เปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดคือมาพร้อมกับการประมวลผลกราฟฟิคมีความสวยงามมาก มีจุดเด่นตรงที่มีเกมของตัวเองมากมาย ซึ่งจะเน้นความสนุกสนามเป็นกลุ่มเป็นหลัก อีกทั้งยังสามารถดึงเอาเกมดังๆมาเป็น Executive ได้อีกด้วย เช่น Resident Evil 4 เป็นต้น

* หมายเหตุ : ใช้ Emulator ตัวเดียวกันกับ Wii *


8. Sony Playstation





เพลย์สเตชัน (PlayStation) เป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกม ระบบ 32 บิต ผลิตโดยบริษัท Sony Computer Entertainment เป็นเครื่องเกมคอนโซลที่ได้รับความนิยมมากในขณะนั้นซึ่งเอาชนะเครื่องเกมอย่าง Nintendo 64 ได้ ปัจจัยที่ทำให้เครื่องเพลย์สเตชันได้รับความนิยมจากผู้เล่นและผู้พัฒนาเกมเนื่องมาจากการใช้สื่ออย่างซีดีรอม ซึ่งมีความจุมากกว่าตลับที่มีความจุเนื้อที่จำกัด รวมทั้งซีดีรอมนั้นผลิตได้ง่ายกว่าและถูกกว่าตลับเกม เครื่องเพลย์สเตชันเป็นเครื่องเกมส์คอนโซลเครื่องแรกที่ขายได้มากกว่า 100 ล้านเครื่องทั่วโลกอีกด้วย

9. Sony Playstation 2


เพลย์สเตชัน 2 (PlayStation 2) หรือพีเอสทู (PS2) เป็นเครื่องคอนโซลที่พัฒนาต่อมาจากเครื่องเพลย์สเตชัน ซึ่งเครื่องเพลย์สเตชัน 2 เป็นเครื่องเล่นที่ได้รับความนิยมมากที่สุดรุ่นหนึ่ง อีกทั้งยังสนับนุนการเล่นออนไลน์อีกด้วย โดยปัจจุบันมียอดจำหน่ายมากกว่า 100 ล้านเครื่องทั่วโลก หลังจากที่มีการขาดตลาดในช่วงแรกที่วางจำหน่าย
โดยมี 2 รูปแบบคือ
1. เครื่องหนา (รุ่นเก่า) มีช่องเก็บ Harddisc
2. เครื่องบาง (รุ่นใหม่) ออกแบบและจัดจำหน่ายภายหลังเครื่องหนา มีขนาดบางเรียวกว่าเครื่องใหญ่ เครื่องเล็กสามารถรองรับเกมส์ของเพลย์สเตชัน 2 ได้ทุกเกมส์

10. Nintendo Wii




วี (Wii) เป็นเครื่องเล่นคอนโซลเกมรุ่นที่ 5 ของบริษัทนินเทนโด ภายใต้ชื่อรหัสพัฒนาว่า เรฟโวลูชัน (Revolution) ซึ่งออกมาถัดจากเครื่อง เกมคิวบ์ โดยที่จอยแพดที่ใช้ควบคุม จะเป็นรูปทรงเหมือน รีโมตโทรทัศน์ เรียกว่า วีโมต (Wiimote) และเกมที่ใช้เล่นก็จะใช้การควบคุม โดยการเคลื่อนไหวจอยแพดนี้ ไปในทิศทางต่างๆอีกด้วยทำให้เกิดการเล่นใหม่ๆและการสร้างสรรค์มากมาย ผู้เล่นสามารถมีส่วนร่วมกับเกมมากขึ้น
เครื่องเล่นวีสามารถเล่นเกมของ เกมคิวบ์ได้ทันที และยังสามารถเล่นเกมของแฟมิคอม ซูเปอร์แฟมิคอม และ นินเทนโด 64 ได้ผ่านระบบเกมที่สามารถ ดาวน์โหลดผ่านอินเทอร์เน็ตอีกด้วย ปัจจุบันเครื่องวีกลับมาทวงตำแหน่งเจ้าแห่งตลาดเกมคอนโซคคืนจากโซนี่ได้สำเร็จ

11. Nintendo DS


นินเทนโด ดีเอส (Nintendo DS หรือ NDS) เป็นเครื่องเล่นเกมพกพาที่มี 2 จอ ของบริษัทนินเทนโด ตัวอักษร DS ย่อมาจาก Dual Screen หรือ Developer's System ตามที่นินเทนโดได้บอกไว้ โดยมีรูปทรงเป็นแบบฝาพับ (clamshell) เช่นเดียวกับ Gameboy Advance SP

DS ออกแบบมาเพื่อสร้างแนวคิดใหม่ๆ ในการเล่นเกม จอภาพด้านล่างของ DS เป็นระบบสัมผัส นอกจากนี้ยังมีไมโครโฟนในตัว และการเชื่อมต่อแบบไร้สายกับ DS เครื่องอื่นๆ โดยนินเทนโดวางกลุ่มเป้าหมายของ DS แตกต่างจากเกมบอย และจับตลาดผู้เล่นที่เป็นผู้ใหญ่มากกว่า ซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยมของผู้เล่นทุกเพศทุกวัย


12. Sony PSP





เพลย์สเตชันพอร์เทเบิล (PlayStation Portable หรือ PSP) เป็นเครื่องเกมพกพาของโซนี่ คอมพิวเตอร์ เอนเตอร์เทนเมนท์ ผลิตออกมาเพื่อเป็นเครื่องพกพาให้สามารถนำไปเล่นที่อื่นๆได้  ซึ่งออกมาแข่งกับนินเทนโดเนื่องจากครองตลาดพกพามานาน
เกมของ PSP ใช้สื่อแบบ UMD (Universal Media Disc) มีความสามารถในการเล่นเกมผ่านเครือข่ายไร้สาย Wi-Fi นอกจากนี้ยังสนับสนุนการเล่นไฟล์มัลติมีเดียต่างๆ เช่น MP3 MPEG-4 ผ่านเมมโมรีสติ๊กของโซนี่ด้วย ต่อมา PSP รุ่นที่สองที่ผ่านมาใช้ชื่อว่า PSP Slim โดยมีน้ำหนักเบาและบางกว่าเดิมอีกด้วย


ก็ครบแล้วนะครับสำหรับ Emulator game ที่แนะนำ ซึ่งผมขอยืนยันว่าเล่นได้แน่นอนครับ ทดสอบเองกับมือทุกตัวขอให้สนุกนะครับ ดาวน์โหลดได้ที่ Facebook นะครับ


วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

รู้จักกับ Emulator กันก่อนนะครับ (1)

Emulator คือ โปรแกรมจำลองเครื่องจักรเสมือน ซึ่งจะจำลองการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆบนเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น การจำลองเครื่องเกมคอนโซลต่างๆให้เล่นได้บนคอมพิวเตอร์นั่นเอง ซึ่งในปัจจุบันก็มีการพัฒนาโปรแกรม Emulator มากมายหลากหลายเครื่องด้วยกัน

มาทำความรู้จักกับเครื่องแรกเลยนะครับ

1. Famicom

เครื่องแฟมิคอม (Famicom) ฝั่งตะวันตกเรียก NES (Nintendo Entertainment System)  เป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกม 8 บิต ผลิตโดยบริษัทนินเทนโด ชื่อของแฟมิคอมมาจากคำเต็มว่า แฟมิลี่คอมพิวเตอร์ คนไทยมักเรียกเครื่องเล่นเกมชนิดนี้ว่า เครื่องแฟมิลี่ เกมยอดนิยมของเครื่องนี้มีมากมาย เช่น ซูเปอร์มาริโอ, ไฟนอลแฟนตาซี, ดราก้อนเควส, ร็อคแมน ฯลฯ


 2. Super Famicom


ซูเปอร์แฟมิคอม ( Super Famicom) หรือ สหรัฐอเมริกาเรียกว่า Super Nintendo Entertainment System (SNES) เป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมของบริษัทนินเทนโด
ซูเปอร์แฟมิคอมเป็นเครื่องเล่นเกมรุ่นที่สองของนินเทนโดถัดจากแฟมิคอมเครื่องซูเปอร์แฟมิคอมเป็นเครื่องเกมส์คอนโซลแบบ 16 บิทที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในยุคนั้น สามารถเชนะคู่แข่งอย่างเครื่องเมก้าไดรฟ์ของเซก้าได้ ซึ่งหลังจากหมดยุคของเกมส์ 16 บิทเครื่องซูเปอร์แฟมิคอมก็ยังเป็นที่นิยมอยู่

3. Sega Saturn

เซก้า แซทเทิร์น (Sega Saturn) เป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมแบบ 32 บิตของบริษัทเซก้า นับว่าเป็นเครื่องเล่นเกมในยุคที่ห้า เครื่องแซทเทิร์นประสบความสำเร็จพอสมควรในประเทศญี่ปุ่น แต่ประสบความล้มเหลวในตลาดฝั่งอเมริกาและยุโรป

4. Gameboy


เกมบอยรุ่นแรกสุดจะใช้จอภาพ LCD ขาวดำ เล่นเกมจากตลับเกม (บางคนบอกค่อนข้างหนัก)

ต่อมาพัฒนาเป็นเกมบอยพ็อกเก็ต เกมบอยพ็อกเก็ต (Game Boy Pocket) ที่ออกแบบให้มีขนาดเล็กลงและประหยัดพลังงานมากขึ้นกว่าเดิม

หลังจากนั้น นินเทนโดก็ได้เริ่มวางขาย เกมบอยคัลเลอร์ (Game Boy Color) ซึ่งก็ทำไม่ทำให้คนทั้งโลกต้องผิดหวัง ด้วยหน้าจอสีที่แสดงสีได้มากถึง 65,000 สี และมีขนาดเล็กพกพาได้สะดวก


จนมาถึงเกมบอยแอดวานซ์ (Gameboy Advance : GBA) ซึ่งถือว่าเป็นรุ่นล่าสุดและรุ่นสุดท้ายในเครื่องเล่นเกมตระกูลเกมบอย


5. Nintendo 64


นินเทนโด 64 (Nintendo 64 : N64) เป็นเครื่องเล่นเกมคอนโซลรุ่นที่สามของนินเทนโด จากการประมวลผลแบบ 64 บิต จึงถูกเรียกว่า Nintendo 64 ซึ่งมีจุดเสียเปรียบต่อเครื่องคอนโซลในยุคเดียวกันหลายข้อ หนึ่งในนั้น คือการใช้ตลับซึ่งมีความจุน้อยกว่าCDมาก ในขณะที่ตลับเกมส์มีความจุสูงสุดที่ 64 MB แต่ CDROMมีความจุถึง 650 MB ทำให้เหล่าผู้พัฒนาเกมส์หันไปพัฒนาเกมส์ให้กับเครื่องที่ใช้CDROMอย่างเพลย์สเตชันหรือเซก้าแซทเทิร์นแทน


สำหรับวันนี้รู้จักกันแค่ 5 เครื่องก่อนนะครับ เดี๋ยวมาติดตามต่อใน Part 2 ^^

เปิดตัวบล็อคใหม่จ้า

อันยองฮาเซโย... สวัสดีครับ ^^

          ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่บล็อคใหม่ของผมครับ จริงๆแล้วจะว่าใหม่ก็คงไม่ใช่ เพราะสมัครบล็อคไว้นานแล้วแต่เอาไว้ส่งงานอาจารย์ซะงั้น ('จารย์แกให้ส่งงานทางบล็อค) จนมาถึงวันนี้ก็เลยคิดอยากทำบล็อคที่เกิดจากความชอบ ความถนัดของตัวเราเองบ้าง ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วผมเป็นคนชอบเล่นเกมมากครับ เล่นตั้งแต่เด็กก็เลยอยากทำเรื่องเกมเนี่ยแหละ แต่เป็นเกมที่เล่นบนโปรแกรมจำลองเครื่องเล่นที่เรียกว่า อีมูเลเตอร์ (Emulator) นะครับ เพราะติดใจเกมเก่าๆ อีกทั้งเมื่อก่อนยังมีเกมที่ยังเล่นไม่จบเยอะเลย ก็เลยขอเล่นจบตอนโตละกัน

          เนื้อหาของบล็อคก็จะเป็นเรื่องเนื้อหาของเกมที่เล่นจากอีมูครับ อาจมีทำเป็นแนวบทสรุปบ้าง แนะนำเกม Preview หรือ Review บ้าง ยังไงก็ช่วยติดตามกันด้วยนะครับ ผมจะทำให้ดีที่สุดเลยครับ ขอบคุณทุกๆคนที่เข้ามาติดตามนะคร้าบ ^^ สามารถติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวของบล็อคได้ที่แฟนเพจนะครับ => http://www.facebook.com/EmuGame


by Teezombie...